แม้ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลพยายามเร่งแก้หนี้มาไม่น้อย แต่ก็ไม่เห็นจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ เพราะถ้าลูกหนี้ไม่ร่วมมือแก้หนี้ และรัฐบาลไม่เร่งจัดการเจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยโหดอย่างจริงจัง ก็คงยากที่จะเห็นผล!
หนี้ปัญหาคลาสสิก
คงไม่ใช่แค่หนี้นอกระบบที่รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ แต่หนี้ในระบบเองก็มีปัญหามากไม่แพ้กัน ล่าสุดถึงคิวที่รัฐบาลประกาศแก้หนี้ในระบบ เปิดเผยถึงแนวทางต่าง ๆ ที่แต่ละหน่วยงานมีในปัจจุบันไม่ว่าจะแนวทางแก้หนี้จากธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ธนาคารของรัฐอย่างธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไม่เว้นแม้แต่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และแนวทางใหม่เพื่อหวังจัดการหนี้ทั้งระบบให้อยู่หมัด รวมแล้วจำนวนลูกหนี้ทั้งสิ้นที่รัฐบาลต้องการช่วยคือจำนวน 10.3 ล้านราย
จากข้อมูลล่าสุดของ ธปท. ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 16.07 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.7% ต่อจีดีพี ซึ่งถือว่าสูงมากทีเดียว เพราะจำนวนหนี้ครัวเรือนเกือบจะเท่ารายได้ของประเทศ และที่สำคัญหนี้ครัวเรือนนี้ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามีจำนวนมูลหนี้อยู่เท่าไร โดยข้อมูลที่รัฐบาลเศรษฐาให้ไว้คือ ปัจจุบันหนี้คนไทยที่มีปัญหาต้องเร่งแก้ไขคือหนี้ที่เป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ค้างชำระเกิน 90 วัน และหนี้ใกล้เสีย (เอสเอ็ม) ค้างชำระหนี้ 30-90 วัน รวมแล้วมีอยู่ทั้งสิ้น 5 ล้านราย คิดเป็น 12 ล้านบัญชี เพราะในจำนวน 1 คนไม่ได้มีหนี้แค่บัญชีเดียว!!!
ปั้นเป็นวาระแห่งชาติ
จำนวนหนี้ทั้งระบบที่รัฐบาลต้องการแก้ไขในครั้งนี้ 10.3 ล้านราย คงต้องบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะภาครัฐ สถาบันการเงินทั้งรัฐและเอกชน หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน รวมไปถึงการดูแลประชาชน เพราะปัญหาหนี้สินครัวเรือนไม่ได้เพิ่งเกิด แต่เป็นปัญหาสะสมมานานตามที่ นายกฯเศรษฐา ได้กล่าว “ปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่กับไทยมานาน ปัญหาหนี้ในระบบ เป็นปัญหาไม่แพ้กับหนี้นอกระบบ ทั้งหนี้สินล้นพ้นตัวส่งผลกระทบต่อการทำงาน บางรายเป็นหนี้เสียมานานจนขาดโอกาสประกอบอาชีพ การดูแลลูกหนี้ในระบบ จึงถือเป็นวาระแห่งชาติ”
นายกฯเศรษฐา ระบุว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญแก้หนี้ทั้งระบบ ทั้งการจัดการหนี้นอกระบบและการดูแลลูกหนี้ในระบบ ให้ได้รับสินเชื่ออย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ไม่ได้กล่าวว่าการเป็นหนี้เป็นสิ่งที่ชั่วร้าย มีหนี้ที่ดีอยู่ หนี้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ลูกหนี้ที่ดีเป็นกลไกสำคัญต่อเศรษฐกิจ แต่ต้องเข้าใจว่า เศรษฐกิจช่วงที่ผ่านมา กลไกเหล่านี้ติดขัดหลายอย่างจนเกิดปัญหาและปราศจากการช่วยเหลือภาครัฐ ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องเข้าไปแก้ไขเพื่อให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกเศรษฐกิจที่สำคัญ”
แยกคนเป็นหนี้4กลุ่ม
สำหรับลูกหนี้ในระบบสถาบันการเงินที่รัฐบาลต้องการแก้ไขครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เรียกว่ารหัส 21 มีการขาดสภาพคล่องทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ กลายเป็นหนี้เสียและมีประวัติค้างอยู่ในเครดิตบูโร ความช่วยเหลือเช่น หนี้เอสเอ็มอีจะได้รับการพักหนี้ 1 ปีและลดดอกเบี้ย 1% รวมทั้งจะยกเลิกสถานะหนี้เสีย กลุ่มนี้จะได้รับการช่วยเหลือประมาณ 1 แสนราย และส่วนใหญ่หนี้จะอยู่กับธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. คาดเริ่ม 1 ม.ค. 67คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
2.กลุ่มที่มีรายได้ประจำแต่มีภาระหนี้จำนวนมาก ทำให้มีภาระหนี้เกินศักยภาพในการชำระหนี้ เช่น ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำรวจ ทหาร และหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น แนวทางกลุ่มนี้คือต้องการให้โอนหนี้ไปไว้ในที่เดียว เช่น กลุ่มข้าราชการให้โอนหนี้ไปสหกรณ์ เพื่อหักเงินเดือนไปจ่ายหนี้ทางเดียว เป็นหนี้ได้ไม่เกิน 70% และมีเงินเหลือใช้ 30%
ส่วนกลุ่มหนี้บัตรเครดิต สามารถเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ มีเจ้าหนี้รายใหญ่ร่วมหลายราย เป็นการนำเงินต้นคงค้างมาคำนวณค่างวดใหม่โดยลดดอกเบี้ยจากเพดาน 16% ใบบัตรเครดิตเหลือ 3-5% ต่อปี นาน 10 ปี แต่เงื่อนไขต้องเป็นหนี้เสียค้างชำระมาแล้ว 120 วันขึ้นไปตามรายงานของเครดิตบูโร ตามข้อมูลรัฐบาลยอดหนี้บัตรเครดิตรวม 5.4 แสนล้านบาท จำนวน 23.8 ล้านใบ และมีปัญหาถึง 1.1 ล้านใบ
3.กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน แต่การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง เช่น เกษตรกร ลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เช่าซื้อแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ลูกหนี้ กยศ. เป็นต้น กลุ่มนี้ได้รับพักหนี้ชั่วคราว ลดดอกเบี้ย ลดเงินผ่อนชำระให้ต่ำลง เพื่อสอดคล้องรายได้กับลูกหนี้ อย่างพักหนี้เกษตรกร 3 ปีลงเงินไม่เกิน 300,000 บาทต่อรายมีเข้าร่วมแล้ว 1.5 ล้านรายทั่วประเทศ และลูกหนี้เช่าซื้อได้มีกำหนดดอกเบี้ยขอสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์รถใหม่ไม่เกิน 10% รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 23% ต่อปี
4.กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้าง กับสถาบันการเงินมาเป็นเวลานาน มีประวัติค้างอยู่ในเครดิตบูโร ไม่สามารถขอสินเชื่อเพิ่มได้ แนวทางช่วยเหลือคือจะให้แบงก์รัฐร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์(เอเอ็มซี) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อรับโอนหนี้เสียส่วนนี้ คาดว่าจะช่วยเหลือได้ 3 ล้านราย เริ่มได้ไตรมาสแรกปี 67
ล่าสุด!! ธนาคารออมสินได้ออกมาตรการใหม่สอดรับแก้หนี้ของรัฐบาลอย่างรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียเอ็นพีแอล โดยยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระหนี้เสียของกลุ่มรายย่อยไม่มีหลักประกันวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท พร้อมกับค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งหมด และปรับลดเงินงวดผ่อนชำระโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย หรือ 0% ในปีแรก ส่วนในปีถัดไปจนครบอายุสัญญา คิดดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี และไม่เสียประวัติเครดิต
วางแผนไว้ระยะยาว
ส่วนกลุ่มที่ดูจะเป็นการแก้ได้ยากที่สุด คงหนี้ไม่พ้นกลุ่มหนี้นอกระบบที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ แนวทางคือให้นายอำเภอและตำรวจในท้องถิ่นช่วยเจรจาประนอมหนี้ และเปิดให้ลงทะเบียนใครที่มีหนี้นอกระบบ โดยนายกฯเศรษฐาเน้นย้ำเสียงหนักแน่นสั่งให้ดำเนินการต่ออย่างรวดเร็ว เพราะที่ผ่านมามีร้องเรียนเข้ามาว่า ลงทะเบียนแล้วไม่เห็นเกิดอะไรขึ้น!!
อย่างไรก็ตามแนวทางต่าง ๆ ที่ออกมาทั้งหมดนี้ ก็ครอบคลุมเกือบจะทุกกลุ่มทั้งระบบแต่ยังเป็นเพียงแค่ความช่วยเหลือระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวก็ต้องเร่งวางแนวทางเพื่อเป็นการป้องกันและปรับการก่อหนี้ให้เกิดความสมดุล โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของหนี้ และต้องยกระดับสินเชื่อและในเรื่องการค้ำประกันสินเชื่อ ขยายขอบเขตข้อมูลเครดิตและการปรับปรุงข้อมูลเครดิตบูโร ที่สำคัญต้องให้สินเชื่อลูกหนี้อย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมโดยคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงลูกหนี้ มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเหมาะสม ป้องกันก่อหนี้เกินตัว!!
สร้างเกราะป้องกัน
นอกจากนี้สิ่งที่ ธปท.พยายามทำคือการให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อและต้องให้ลูกหนี้เหลือเงินใช้ในชีวิตประจำวัน และในอนาคตจะเพิ่มข้อมูลอื่นนอกเหนือจากรายได้ผู้กู้ คือเป็นการสร้างเครดิตจากประวัติชำระหนี้อื่น เช่น ประวัติการจ่ายค่าน้ำ ประวัติการจ่ายค่าไฟ หรือค่าโทรศัพท์ เพื่อมาประกอบการขอสินเชื่อให้ได้รับพิจารณาได้ง่ายขึ้น
สุดท้าย…คนไทยต้องเพิ่มความรู้ทางการเงินให้มากขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันทั้งไม่ก่อหนี้เกินตัว ไม่ทำให้ตัวเองตกไปอยู่ที่นั่งลำบาก และเพิ่มความรู้ป้องกันจากมิจฉาชีพที่ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบไปตลอดเวลา พร้อมแนวทางที่รัฐบาลได้วางไว้ต่อจากนี้คือทั้งต้องส่งเสริมวินัยการออมให้คนไทย พัฒนาการบริหารจัดการเงิน และการให้ความรู้ทางการเงิน รวมทั้งนักเรียนนักศึกษากู้ กยศ. ต้องผ่านการอบรมการบริหารจัดการหนี้ เพิ่มบุคลากรที่จะสามารถให้คำแนะนำเรื่องการแก้หนี้ หรือคนไกล่เกลี่ยหนี้
เสพติดความช่วยเหลือ
ไม่ว่าแนวทางของรัฐบาลจะมีวิธีจัดการหนี้มากแค่ไหน สุดท้ายแล้วผลลัพธ์อาจแก้ปัญหาหนี้ไม่จบ หากคนไทยยังก่อหนี้เกินตัว และรายได้ครัวเรือนโตไม่ทันรายจ่าย แล้วรัฐบาลจะทำอย่างไรถึงให้เงินในกระเป๋าของครัวเรือนมีเพิ่มขึ้นจนคุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องการแก้หนี้คือ จะทำอย่างไรไม่ให้คนไทยเสพติดความช่วยเหลือเหมือนกับหลายมาตรการของรัฐที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอุดหนุนชดเชย แจกเงินต่าง ๆ และมักจะเกิดคำถามทุกครั้ง เพราะคนไทยเกิดพฤติกรรมจงใจทำผิดเพื่อรอรับความช่วยเหลือมาตลอด หรือที่เรียกกันว่า “มอรัล ฮัดซาร์ด” นั่นเอง!!คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!.
“ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ บอกว่า ข้อมูลหนี้ครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 2 ปี 66 มีจำนวนมูลค่า 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลผลิตมวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี อยู่ที่ 90.6% โดยอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือน มาจากหนี้เพื่ออสังหาริมทรัพย์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เป็นหลัก ขณะที่คุณภาพสินเชื่อภาพรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล มีจำนวนกว่า 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.71% ต่อสินเชื่อรวม โดยสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.68%
อย่างไรก็ตามในเรื่องของหนี้ครัวเรือน มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงในการติดกับดักหนี้ของเกษตรกรไทยจากมาตรการพักหนี้ จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มาตรการไม่สามารถลดหนี้ของเกษตรกรได้มากนัก เพราะเกษตรกรที่เข้าร่วมมักมีการก่อหนี้เพิ่ม เนื่องจากรายได้จากการทำการเกษตรยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ดังนั้นต้องมีการยกระดับรายได้ควบคู่กับการดำเนินมาตรการ และ การเร่งดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่าหนี้และบัญชีที่เป็นหนี้เสีย.
ทีมเศรษฐกิจ